วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เบื้องต้นจำนวนเชิงซ้อน

ฟีลด์ของจำนวนเชิงซ้อน
ฟีลด์ของจำนวนเชิงซ้อน \mathbb{C} ประกอบด้วยเซตของคู่ลำดับ (a,b) ทั้งหมดโดยที่ a และ b เป็นจำนวนจริง และปฏิบัติการสองตัวคือ + (การบวก) และ \cdot (การคูณ) โดยปฏิบัติการทั้งมีนิยามดังต่อไปนี้
ให้ (a,b) และ (c,d) เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ
(a,b)+(c,d) = (a+c, b+d) \,
(a,b)\cdot(c,d) = (ac-bd, ad+bc) \,
เมื่อการบวก การลบ และการคูณภายในคู่ลำดับคือการบวก การลบ และการคูณจำนวนจริง
เซตของจำนวนเชิงซ้อนและปฏิบัติการทั้งสองมีสมบัติเป็นฟีลด์ กล่าวคือ
  • การบวกและการคูณมีสมบัติปิด การสลับที่ การเปลี่ยนกลุ่ม และการแจกแจง
  • มีเอกลักษณ์การบวกคือ (0,0)
  • มีเอกลักษณ์การคูณคือ (1,0)
  • อินเวอร์สการบวกของ z = (a,b) (เขียนแทนด้วย z) คือ (-a,-b)
  • ถ้าหาก z = (a,b) \neq (0,0) อินเวอร์สการคูณของ z (เขียนแทนด้วย z − 1) คือ \left( \frac{a}{a^2 + b^2}, \frac{-b}{a^2 + b^2} \right)

[แก้] จำนวนเชิงซ้อนในฐานะปริภูมิเวกเตอร์และฟีลด์ต่อเติม

อนึ่ง เราอาจมองเซตของจำนวนเชิงซ้อนเป็นปริภูมิเวกเตอร์สองมิติบนเซตของจำนวนจริง เราสามารถใช้การบวกจำนวนเชิงซ้อนแทนการบวกเวกเตอร์ และการคูณด้วยสเกลาร์สามารถนิยามได้ดังต่อไปนี้
c(a,b) = (ca,cb) = (a,b)c \, เมื่อ c เป็นจำนวนจริงและ (a,b) เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ
ด้วยเหตุนี้เราได้ว่าฐานหลักหนึ่งของเซตของจำนวนเชิงซ้อนประกอบด้วยเวกเตอร์ (1,0) และ (0,1) กล่าวคือเราสามารถเขียนจำนวนเชิงซ้อนทุกตัวในรูปของผลรวมเชิงเส้นของเวกเตอร์ทั้งสอง:
 (a,b) = a(1,0) + b(0,1) \,
ตามความนิยม เรามักแปลความหมายของ (a,0) = a(1,0) ว่าเป็นจำนวนจริง a (ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวว่าเซตจำนวนจริงเป็นสับเซตของเซตจำนวนเชิงซ้อน) และมักใช้สัญลักษณ์ i แทน (0,1) จำนวนเชิงซ้อน (a,b) จึงเขียนได้อีกแบบหนึ่งว่า a + bi ซึ่งเป็นที่นิยมใช้มากกว่าแบบคู่ลำดับ
จากนิยามการคูณจำนวนเชิงซ้อนข้างต้น เราได้ว่า i2 = ( − 1,0) = − 1 นั่นคือ i เป็นคำตอบของสมการ x2 + 1 = 0 ซึ่งไม่สามารถหาคำตอบได้ในเซตของจำนวนจริง ดังนั้น เซตของจำนวนเชิงซ้อนจึงเป็นฟีลด์ต่อเติม (field extension) ของเซตของจำนวนจริงโดยการเพิ่มรากของพหุนาม x2 + 1 อีกนัยหนึ่ง เซตของจำนวนเชิงซ้อนคือริงผลหาร (quotient ring) ของริงพหุนาม \mathbb{R}[x] กับไอดีล (x2 + 1) เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์ได้ว่า
\mathbb{C} = \mathbb{R}[x]/(x^2+1)

[แก้] สัญลักษณ์และคำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง

[แก้] ส่วนจริงและส่วนจินตภาพ

ถ้า z = a+bi \, เราเรียก a ว่า ส่วนจริง ของ z เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ \Re(z) และเราเรียก b ว่า ส่วนจินตภาพ ของ z เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ \Im(z) เราเรียกจำนวนเชิงซ้อนที่มีส่วนจริงเป็น 0 และส่วนจินตภาพไม่เป็น 0 ว่าจำนวนจินตภาพ

[แก้] สังยุคเชิงซ้อน

ถ้า z=a+bi\, เป็นจำนวนเชิงซ้อน สังยุคของ z คือ a-bi\, เราเขียนแทนสังยุคของ z ด้วย \bar{z} สังยุคของจำนวนเชิงซ้อนมีสมบัติสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
  1. \overline{z_{1}+z_{2}}=\bar{z}_{1}+\bar{z}_{2}
  2. \overline{z_{1}z_{2}}=\bar{z}_{1}\bar{z}_{2}
  3. z + \bar{z} = 2\Re(z)
  4. z - \bar{z} = 2\Im(z)
เมื่อ z, z1, z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ

[แก้] ขนาดของจำนวนเชิงซ้อน

ขนาดของจำนวนเชิงซ้อน z=a+bi \, เขียนแทนด้วย | z | คือจำนวนจริงบวก \sqrt{a^2 + b^2} เราอาจแปลความหมายของขนาดของจำนวนเชิงซ้อนได้ว่าเป็นความยาวของเส้นตรงที่ลากจากจุด (0,0) ไปยังจุด (a,b) บนระนาบคาร์ทีเชียน ขนาดของจำนวนเชิงซ้อนมีสมบัติสำคัญๆ ดังต่อไปนี้
  1. \left|z\right\vert=\left|\bar z\right\vert
  2. \left|z\right\vert^2=z \bar{z}
  3. \left|z_1z_2\right\vert=\left|z_1\right\vert\left|z_2\right\vert
  4. \left|z_1+z_2\right\vert\le\;\left|z_1\right\vert+\left|z_2\right\vert (อสมการสามเหลี่ยม)
  5. \left|z_1-z_2\right\vert\ge\;\big|\left|z_1\right\vert-\left|z_2\right\vert\big|
  6. \left|z\right\vert=0 ก็ต่อเมื่อ z=0\,
เมื่อ z, z1, และ z2 เป็นจำนวนเชิงซ้อนใดๆ จากสมบัติข้อที่สองและการแทนจำนวนจริง a ด้วยจำนวนเชิงซ้อน (a,0) ทำให้เราได้ว่าถ้า z \neq 0
z^{-1} = \frac{\bar{z}}{|z|^2}

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น